พาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เทศบาลนคร
ข้อที่ 1 กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
- การทำโรงสีข้าว และการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
- การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตามคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามและสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
- การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ การทำโรงแรม
ข้อที่ 2 กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นบุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
- การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็คทรอนิคส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- การบริการอินเทอร์เน็ต
- การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
- การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ดีวีดีหรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
- การให้บริการฟังเพลง และร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- การให้บริการเครื่องเล่นเกม
- การให้บริการตู้เพลง
- โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่ง งาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
พาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
- การรับเหมาก่อสร้าง การรับจ้างแรงงานทั่วไป
- การรับซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
- การรับจ้างบรรทุกของโดยรถยนต์
- การรับจ้างซ่อมรถยนต์ ล้าง อัด ฉีด เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องต่างๆ
- การรับจ้างอื่นๆ ซึ่งเป็นการให้บริการและยังไม่ได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาให้เป็นพาณิชยกิจ
- รวมทั้ง ร.ม.ต.กระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นพาณิชยกิจ
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
(ตั้งใหม่ และเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่)
1.กรณีสถานที่ประกอบพาณิชยกิจเป็นกรรมสิทธิ์
ของผู้ประกอบการ
1.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประกอบการ
1.2 สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบการ
1.3 การมอบอำนาจ ให้แนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
ก.หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท
ข.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียน
บ้านของผู้รับมอบ
2.กรณีสถานที่ประกอบพาณิชยกิจเป็นสถานที่ของบุคคลอื่น
2.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประกอบการ
2.2 สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบการ
2.3 สำเนาเอกสารสัญญาเช่า (กรณีเช่า)
2.4 หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการค้า พร้อม
แนบเอกสาร สำเนาทะเบียนของสถานที่ที่ตั้งร้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์
2.5 การมอบอำนาจเช่นเดียวกับข้อ 1.3
- การจดทะเบียนคณะบุคคลและห้างหุ้นส่วนสามัญจะเพิ่มเติมเอกสารดังนี้
3.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหุ้นส่วนทุกคน
3.2 สำเนาทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนทุกคน
3.3หนังสือแต่งตั้งผู้จัดการพร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท
- การจดทะเบียนสินค้าลิขสิทธิ์
ให้แนบเอกสารการอนุญาตให้ขายสินค้าลิขสิทธิ์นั้น ๆเพิ่มเติม
- การจดทะเบียนทุกประเภทให้แนบภาพถ่ายหน้าร้านเพื่อแสดงให้เห็นป้ายชื่อร้าน
ข้อสังเกต
ในกรณีการเปลี่ยนตัวผู้ประกอบพาณิชยกิจ ไม่ว่าจะเป็นการโอนกิจการให้แก่กัน หรือการให้มรดก ไม่สามารถดำเนินการโดยการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการได้ เนื่องจากเป็นกิจการเฉพาะตัวบุคคลซึ่งบุคคลผู้รับโอนก็ไม่อาจนับช่วงเวลาที่ผู้โอนได้ดำเนินการมาก่อนได้ ในกรณีเช่นนี้จึงต้องดำเนินการ ดังนี้
- ผู้โอนหรือทายาท ยื่นคำขอจดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ
- ผู้รับโอน ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์(ตั้งใหม่)
ทั้งสองกรณีให้ดำเนินการในวันเดียวกัน
อัตราค่าธรรมเนียม
- จดทะเบียนพาณิชย์ (ตั้งใหม่) 50 บาท
- จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการ 20 บาท
- จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
- ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ 30 บาท
- คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 30 บาท
หนังสือ/สัญญา ที่ต้องปิดอากรแสตมป์
- หนังสือมอบอำนาจ ปิดอากร 10 บาท
- หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ปิดอากร 100 บาท
- สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ปิดอากร 50 บาท
- สัญญาเลิกห้างหุ้นส่วน ปิดอากร 50 บาท
- หนังสือสัญญาจัดตั้งคณะบุคคล ปิดอากร -บาท
ผู้ประกอบพาณิชกิจที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499
บทลงโทษ
มาตรา 19ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใด
1.ไม่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
2. แสดงรายการเท็จ หรือ
3.ไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำหรือไม่ยอมให้นายทะเบียนพาณิชย์หรือพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบตามมาตรา 17
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000.-บาท และในกรณีตามข้อ 1.อันเป็นความผิดต่อเนื่องกัน ให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 100.-บาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา20 ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใดละเลยไม่ปฏิบัติตาม
- ผู้ประกอบพาณิชยกิจละเลยไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย (ตามมาตรา 14)
- ผู้ประกอบพาณิชยกิจละเลยไม่ติดป้ายขื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่ และสำนักงานสาขา ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันจดทะเบียน (ตามมาตรา 15)
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200.-บาทและในกรณีอันเป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 20.-บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา21ผู้ประกอบพาณิชยกิจผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 16 วรรคสาม ห้ามมิให้ผู้สั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์ประกอบพาณิชยกิจต่อไป เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.-บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ